Get Adobe Flash player
ยินดีต้อนรับ, บุคคลทั่วไป
ชื่อสมาชิก รหัสผ่าน: จดจำข้อมูลการเข้าระบบ

การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง
(1 จำนวนผู้เยี่ยมชม) (1) บุคคลทั่วไป
ขอเชิญชวนเพื่อนสมาชิกทุกท่านมาร่วมแบ่งปันโน้ตเพลงขลุ่ย เพื่อสืบสานเสียงขลุ่ยไทยให้คงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน โน้ตเพลงทั้งหมดใช้เพื่อให้ผู้ที่สนใจทุกท่านได้ฝึกฝน และเพื่อความบันเทิงเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า ท่านสามารถดูรายชื่อเพลงได้ที่หัวข้อ "สารบัญโน้ตเพลงขลุ่ย"
  • หน้าที่:
  • 1
  • 2

กระทู้: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง

การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง 13 ปี, 1 เดือน ที่ผ่านมา #1239

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตอนอื่นๆดังนี้
การแกะเพลงเบื้องต้น
ตอนที่1 โน้ตเบื้องต้น
www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...catid=13&id=1200

ตอนที่3. วิธีการแกะเพลง การปรับแต่งเพลงให้เข้ากับขลุ่ย
www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...catid=13&id=1380

ตอนที่2.เครื่องมือในการแกะเพลง
เครื่องมือในการแกะเพลงที่ผมใช้งานอยู่ประกอบด้วย2โปรแกรมง่ายๆติดตั้งบนคอมพิวเตอร์เลยครับ

1.โปรแกรม Keyboard Music
เป็นเหมือนเปียโนบนคอมพิวเตอร์ เรากดที่คีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นเสียงโน้ตตามที่ต้องการ ผมใช้โปรแกรมนี้เป็นหลักในการแกะเพลงนะครับแล้วจึงใช้ขลุ่ยเป่าเพื่อตกแต่งเสียงอีกทีนะครับ โปรแกรมนี้มีข้อดีอีกอย่างหนึ่งครับ คือมีคีย์หรือบันไดเสียงให้เราเลือกทุกบันไดเสียงเลยเหมือนกับเรามีขลุ่ยทุกคีย์ เพราะการแกะเพลงด้วยขลุ่ยโดยตรงจากประสบการณ์ผมจะเจอปัญหา2ประการคือ
ประการแรกขลุ่ยสากลปกติจะมีคีย์จำกัดคือที่นิยมเล่นก็คือคีย์ซี(C)และคีย์บีแฟล็ต(Bb) ดังนั้นจึงแกะเพลงได้จำกัดคีย์เพราะถ้าเจอคีย์ที่ติดชาร์ปติดแฟล็ตมากๆจะแกะลำบากและเป่ายากด้วย
ประการที่2 เสียงขลุ่ยสำหรับโน้ตที่เป็นครึ่งเสียงหรือที่ติดชาร์ปติดแฟล็ตจะไม่ค่อยตรง ดังนั้นเวลาแกะเจอโน้ตครึ่งเสียงพวกนี้เวลาฟังแล้วเป่าตามบางทีอาจจะเดายากว่าเป็นโน้ตอะไร

รูปร่างหน้าตาโปรแกรมเป็นแบบนี้ครับ



สามารถโหลดได้ตามนี้ครับ
www.mediafire.com/?ncssa08x1t8k1yz

วิธีการติดตั้ง
1.เรียกติดตั้งปกติจากโปรแกรมติดตั้ง
2.เปิดครั้งแรกจะให้ใส่ชื่อและรหัสเพื่อลงทะเบียน ให้เปิดโปรแกรมKeygen(ที่มาด้วยกัน) ใส่ชื่ออะไรก็ได้ครับ แล้วกดปุ่มgenerateจะได้รหัส นำชื่อกับรหัสไปใส่ในโปรแกรมKeyboard Music

วิธีการใช้งานเป็นดังนี้ครับ
1.เปิดโปรแกรมขึ้นมา
2.เลือกเมนู Layout(8) เป็นการให้เลือกรูปแบบของแป้นคีย์ ที่จะกดให้ออกเป็นโน้ตอย่างไร มีให้เลือก2แบบคือFingering Style และ Piano Style ก็เลือกที่เราชอบและถนัดนะครับ ส่วนผมชอบแบบFingering Style
3.เลือกเมนู Keystroke(6) ให้เข้าไปเลือกที่ Sound sustain after release key จะมีผลคือเวลาเรากดที่แป้นคีย์บอร์ดเสียงโน้ตจะดังออกมานานขึ้นอีกนิด
4.เมนูInstrument(1) สามารถจำลองเสียงออกมาเป็นเสียงโน้ตเป็นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ลองเปลี่ยนดูครับ แต่ผมชอบตั้งเป็นเสียงเปียโนเพราะแกะเพลงฟังเสียงโน้ตชัดดีครับ
5.เมนู Mode(4) อันนี้สำคัญครับ เพราะเป็นคีย์หรือบันไดเสียงให้เราเลือก ที่บอกนะครับเหมือนกับเรามีขลุ่ยทุกคีย์ ซึ่งปกติจะตั้งเป็นคีย์ซี(C)ให้ครับ

สำหรับตัวโน้ตจะเป็นลำดับที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 การที่กดเลขแล้วจะมีเสียงออกเป็นโน้ตตัวใดขึ้นอยู่กับคีย์ที่เราเลือกในเมนู Mode(4) ดังตารางข้างล่างครับ


เช่นถ้าเราเลือก Mode เป็นคีย์ซีเมเจอร์(C Major) ลำดับเสียงตัวโน้ตสากลจะเป็น โด(1),เร(2),มี(3),ฟา(4),ซอล(5),ลา(6),ที(7)
แต่ถ้าเราเลือกเป็นคีย์บีแฟล็ต(Bb Major) ลำดับเสียงตัวโน้ตก็จะเป็น ทีb(1) ,โด(2),เร(3),มีb(4),ฟา(5),ซอล(6),ลา(7)
แก้ไขล่าสุด: 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา โดย bamboo.
สมาชิกที่ถูกใจโพสต์นี้: tik

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง 13 ปี, 1 เดือน ที่ผ่านมา #1240

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
2.โปรแกรม PaceMaker
โปรแกรมนี้เป็นตัวเสริมใช้กับโปรแกรมเล่นเพลง WinAmp หมายความว่าต้องมีโปรแกรม WinAmpติดตั้งอยู่ก่อนนะครับ ช่วยในการแกะเพลง โดยความสามารถของโปรแกรมเสริมนี้มี2ประการคือ
ประการแรกสามารถปรับให้เพลงเล่นช้าเร็วตามต้องการได้ เพราะปกติการแกะเพลงใหม่ๆเราจะฟังไม่ทันโดยเฉพาะเพลงที่เล่นเร็วจะทำให้เราฟังไม่ทัน
ประการที่2 สามารถเปลี่ยนคีย์ของเพลงที่กำลังเล่นอยู่ได้เลย ซึ่งมีประโยชน์ในการแกะเพลงหรือเป่าขลุ่ย เช่นถ้าเพลงนั้นเรารู้ว่าเป็นคีย์เอ(A) แต่เรามีขลุ่ยคีย์Bbอยู่ เราก็สามารถปรับเพลงที่กำลังเล่นอยู่ให้เป็นคีย์Bbได้ เพื่อที่เราจะสามารถเอาขลุ่ยคีย์Bbเป่าตามหรือแกะเพลงได้

ข้อสังเกต : โปรแกรม PaceMakerใช้ได้ดีกับเพลงที่เป็นนามสกุล mp3

รูปร่างหน้าของโปรแกรม WinAmp และ PaceMaker เป็นอย่างนี้ครับ

กรอบสีแดงคือโปรแกรมWinAmp ส่วนกรอบสีเขียวคือโปรแกรมPacemaker

สามารถโหลดได้ตามนี้ครับ

1.โปรแกรมWinAmpเวอร์ชั่นล่าสุดเข้าไปโหลดได้ที่
www.winamp.com/

หรือจะใช้เวอร์ชั่นที่ผมใช้อยู่ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นเก่าคือ V5.541 สามารถโหลดได้จาก
www.mediafire.com/?juttlps192zrgcw


2.โปรแกรมPaceMaker (ต้องมีหรือติดตั้งโปรแกรมWinAmpก่อนนะครับ)
PaceMakerเวอร์ชั่นล่าสุดดาวน์โหลดได้จาก
www.surina.net/pacemaker/download.html

หรือดาว์นโหลดจากลิงค์ที่ผมแปะให้โดยตรงข้างล่างนี้ก็ได้ เป็นV2.5.2
www.mediafire.com/?fif75zfu28c1zuq

คุณสมบัติของโปรแกรมดูได้จาก
www.surina.net/pacemaker/


การติดตั้งโปรแกรมPaceMaker
1.เรียกติดตั้งปกติจากโปรแกรมติดตั้ง
2.เมื่อติดตั้งแล้วเปิดโปรแกรมWinAmp เพื่อเปิดใช้โปรแกรมเสริมPacemakerตัวนี้โดย
-ไปที่เมนู Option -> Preferences
-ไปที่หัวข้อ Plug-ins เลือกหัวข้อย่อย DSP/Effect
-เลือก PaceMaker tempo controller V2.5.2


หรือดูวิธีการติดตั้งเป็นภาษาอังกฤษได้ดังนี้ครับ
www.surina.net/pacemaker/doc/install.html


การใช้งาน
1.ส่วนที่เป็นปุ่มวงกลมอยู่ด้านล่างสุด
1.1ปุ่ม Enable Processing คลิ๊กเลือกที่วงกลมให้เป็นสีเขียวให้โปรแกรมPaceMakerทำงาน จะทำให้สามารถตั้งค่า TEMPO , PITCH , SPEEDได้ ถ้าเป็นสีแดงแสดงว่ายกเลิกการทำงานของโปรแกรมนี้(ชั่วคราว)
1.2ปุ่ม Memorize above settings for each song คลิ๊กเลือกที่วงกลมให้เป็นสีเขียว โปรแกรมจะจดจำการตั้งค่า TEMPO , PITCH , SPEED ของแต่ละเพลงที่เราตั้งไว้โดยอัตโนมัติ พอถึงเพลงไหนก็จะเล่นตามที่ตั้งไว้อย่างนั้น
1.3ปุ่ม Remove Vocals ตัดเสียงพูดหรือคนร้อง เพื่อให้เสียงดนตรีเด่น หรือทำเป็นBacking Trackอย่างง่ายๆเพื่อเป่าขลุ่ยหรือร้องตาม ซึ่งเสียงร้องนั้นอาจตัดได้บางเพลงหรือตัดได้ไม่หมดขึ้นอยู่กับเพลงว่ามีการอัดมาแบบไหนด้วย
1.4ปุ่ม RESET ใช้เพื่อตั้งค่า TEMPO , PITCH , SPEED ให้เหมือนกับยังไม่ได้ตั้งค่าอะไร (เสียงเพลงตามต้นฉบับ)

ที่ผมใช้อยู่นั้นปุ่ม Enable Processing และ RESET จะใช้บ่อย และเวลาออกจากโปรแกรม WinAmp ควรยกเลิกการใช้งานPaceMakerก่อน โดยคลิ๊กที่วงกลมให้เป็นสีแดง เพราะถ้าเปิดครั้งต่อไปจะจดจำค่าเดิมที่ตั้งไว้ บางทีเราลืมตั้งกลับ เพลงที่ฟังอาจจะดูเพี้ยนไปตาม TEMPO , PITCH , SPEEDที่เราตั้ง หรือคนอื่นมาเล่นก็อาจจะงง

2.ส่วนที่ปรับเลื่อนได้มีดังนี้
2.1ปุ่ม TEMPO ใช้ปรับความเร็วของเพลง มีประโยชน์ในการแกะเพลง ในเพลงที่เร็วๆ ฟังไม่ทันหรือเป่าตามไม่ทัน ก็ปรับให้ช้าลงได้ ปรับได้เป็นเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ -50% ถึง +100% ค่าที่เป็นลบจะทำให่เพลงที่เล่นช้าลง
2.2 ปุ่ม PITCH ใช้เปลี่ยนคีย์เพลง ซึ่งตัวนี้สำคัญ โดยปรับได้ตั้งแต่ -12 ถึง 12 Step (St)
?1 Step เท่ากับระยะห่างครึ่งเสียงทางดนตรีสากล? โดยระยะห่างระหว่างคีย์ที่ห่างกันครึ่งเสียงหรือ1Step แสดงดังตารางต่อไปนี้ครับ

ประโยชน์ตัวนี้มีมากเช่นถ้าเรารู้ว่าเพลงนี้คีย์อะไรแต่ไม่ตรงกับคีย์ขลุ่ยที่เรามี เราก็สามารถปรับคีย์เพลงให้ตรงกับคีย์ขลุ่ยที่เรามีอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อขลุ่ยคีย์ต่างๆมาเพิ่ม ทั้งทำให้สามารถแกะเพลงหรือเป่าตามโดยใช้ขลุ่ยที่มีอยู่
2.3 ปุ่ม SPEED จะทำการปรับ TEMPO และPITCHไปพร้อมกัน ซึ่งปุ่มนี้ไม่ต้งอสนใจเพราะจริงๆไม่ได้ใช้งานในการแกะเพลง

หรือดูคู่มือการใช้งานเป็นภาษาอังกฤษได้ดังนี้ครับ
www.surina.net/pacemaker/doc/usage.html

หรือดูทั้งหมด
www.surina.net/pacemaker/doc/index.html

ตัวอย่างการใช้งานPaceMaker
กรณีเรารู้ว่าเพลงกระซิบสวาทของคุณ ป.กรุงเก่า ที่ท่านบรรเลงไว้ ใช้ขลุ่ยคีย์ซีเป่า และ มีโน้ตและBacking Trackตามนี้ครับ
www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...;catid=13&id=613
แต่ถ้าเรามีขลุ่ยคีย์Bb ต้องการจะเป่าโดยใช้Backing Trackที่ให้มาแต่ปัญหาคือเป็นBacking Trackของขลุ่ยคีย์C เราสามารถทำการแปลงได้ดังนี้ครับ
1. หาระยะห่างของคีย์ขลุ่ยเก่ากับคีย์ขลุ่ยใหม่ก่อน ว่าห่างกันกี่ครึ่งเสียงสากลหรือกี่Step
โดยดูจากตารางที่แสดงไว้ด้านบน จะเห็นว่าคีย์Bbห่างจากคีย์Cไป 2ช่องหรือ 2Step หรือ 2-ครึ่งเสียงสากล
2.ดังนั้นเราก็ไปตั้งค่า PITCH ในPaceMakerเท่ากับ -2 Step ดังรูป (คีย์Bbต่ำกว่าคีย์C จึงเลื่อนไปทางซ้ายและมีค่าติดลบ ถ้าเลื่อนไปทางขวาจะเป็นคีย์ที่มีระดับเสียงสูงกว่า)
เท่านี้เราก็สามารถใช้ขลุ่ยคีย์Bbเป่ากับbacking Trackที่มีอยู่ได้


เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้ว่าเพลงนั้นใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่า แต่ต้องการปรับเป็นคีย์ที่ใช้ขลุ่ยคีย์Bbเป่าตามได้ ให้ทำการปรับ PITCH Step เป็น -2 St เสมอ
และในทางตรงกันข้ามเรารู้ว่าเพลงนั้นใช้ขลุ่ยคีย์Bbเป่า แต่ต้องการปรับเป็นคีย์ที่ใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่าตามได้ ให้ทำการปรับ PITCH Step เป็น +2 St เสมอ

ในอีกแง่หนึ่งถ้าเรารู้ว่าเพลงนั้นเป็นคีย์อะไรหรือไม่รู้ แต่เป็นคีย์ที่ขลุ่ยของเราที่มีอยู่เป่าได้ไม่ตรง เราก็ลองปรับเลื่อนคีย์(PITCH Step) เพื่อให้ตรงกับคีย์ของขลุ่ยที่เรามีเพื่อเป่าตามหรือแกะเพลงก็ได้เหมือนกันครับ
แก้ไขล่าสุด: 13 ปี, 1 เดือน ที่ผ่านมา โดย bamboo.

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง 13 ปี, 1 เดือน ที่ผ่านมา #1241

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
จบตอนที่2ครับ
หากผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
หากมีปัญหาหรือสงสัยอะไรถามมาได้เลยครับ หากมีเวลาและตอบได้ก็จะมาตอบให้นะครับ^^

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง 13 ปี, 1 เดือน ที่ผ่านมา #1244

  • cvorapu
  • ออฟไลน์
  • Senior Boarder
  • จำนวนโพสต์: 85
  • พลังน้ำใจ: 9
ขอบคุณมากครับ ขอชมว่าบทความชุดนี้ดีมากๆ ครับ โดยเฉพาะโปรแกรมที่ช่วยในการแกะเพลง จะลองโหลดมาใช้ดูนะครับ ถ้าติดปัญหาแล้วจะถามมาอีกทีนะครับ หวังว่าตอนต่อไปจะตามมาเร็วๆ นะครับ รออยู่ครับ

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง 13 ปี, 1 เดือน ที่ผ่านมา #1245

  • stampdown
  • ออฟไลน์
  • Fresh Boarder
  • จำนวนโพสต์: 4
  • พลังน้ำใจ: 0
ขอบคุณท่าน Bamboo มาก ครับ

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่2 เครื่องมือในการแกะเพลง 13 ปี ที่ผ่านมา #1345

  • cvorapu
  • ออฟไลน์
  • Senior Boarder
  • จำนวนโพสต์: 85
  • พลังน้ำใจ: 9
โปรแกรมที่แนะนำลองใช้ดูทั้งหมดแล้วครับ ดีมากๆ ครับ รอตอนที่ 3 อยู่ครับ
  • หน้าที่:
  • 1
  • 2
ผู้ดูแลฟอรัม: tik, sopon
ใช้เวลาในการร่างหน้านี้: 0.59 วินาที