Get Adobe Flash player
ยินดีต้อนรับ, บุคคลทั่วไป
ชื่อสมาชิก รหัสผ่าน: จดจำข้อมูลการเข้าระบบ

การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง
(1 จำนวนผู้เยี่ยมชม) (1) บุคคลทั่วไป
ขอเชิญชวนเพื่อนสมาชิกทุกท่านมาร่วมแบ่งปันโน้ตเพลงขลุ่ย เพื่อสืบสานเสียงขลุ่ยไทยให้คงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน โน้ตเพลงทั้งหมดใช้เพื่อให้ผู้ที่สนใจทุกท่านได้ฝึกฝน และเพื่อความบันเทิงเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า ท่านสามารถดูรายชื่อเพลงได้ที่หัวข้อ "สารบัญโน้ตเพลงขลุ่ย"
  • หน้าที่:
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4

กระทู้: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง

การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา #1380

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33

ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตอนอื่นๆดังนี้
การแกะเพลงเบื้องต้น
ตอนที่1 โน้ตเบื้องต้น
www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...catid=13&id=1200

ตอนที่2. เครื่องมือที่ใช้ในการแกะเพลงให้ง่ายและเร็วขึ้น
www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...catid=13&id=1239


ตอนที่3. วิธีการแกะเพลง
หลังจากที่รู้ทฤษฎีโน้ตเบื้องต้นและมีเครื่องมือการแกะเพลงแล้ว ต่อไปเราจะนำทั้ง2อย่างมาประยุกต์ใช้ในการแกะเพลง โดยวิธีการแกะเพลงประกอบขั้นตอนต่อไปนี้
1.หาคีย์ของเพลง 2. แกะเพลง 3.ปรับแต่งเพลงให้เหมาะสมกับขลุ่ย

3.1 การหาคีย์เพลง
เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เพราะเพลงแต่ละเพลงที่เราฟังกันจะอยู่ในคีย์(บันไดเสียง)ที่แตกต่างกัน การที่เรารู้ว่าเพลงนี้อยู่นคีย์อะไร ก็จะทำให้รู้ได้ว่าโน้ตในเพลงประกอบด้วยโน้ตอะไรบ้างทันที ดังตารางต่อไปนี้



จากตารางข้างต้นเป็นคีย์ทั้งหมดและโน้ตในแต่ละคีย์ในระบบเมเจอร์สเกล(Major Scale)ที่ไล่ห่างกันทีละ1ขั้นครึ่งเสียง(Semitone)
เพลงส่วนใหญ่ที่ฟังกันจะอ้างอิงระบบคีย์นี้ (ดังนั้นที่กล่าวต่อไปผมจะขออ้างอิงระบบคีย์เมเจอร์สเกลเป็นหลักนะครับ) เช่นถ้าเรารู้ว่าเพลงนั้นอยู่ในคีย์C (C Major) ก็รู้ได้ทันทีว่าเพลงนั้นประกอบด้วยโน้ต " โด เร มี ฟา ซอล ลา ที " เป็นหลักเท่านี้ตายตัว
ถ้าเพลงอยู่ในคีย์A (A Major)เพลงนั้นก็มีโน้ตที่อยู่ในชุด "ลา ที โด# เร มี ฟา# ซอล# "
ซึ่งทำให้เราเดาโน้ตเพื่อแกะเพลงได้ง่ายเพราะตัวโน้ตถูกจำกัดลงเหลือแค่7ตัวเป็นรูปแบบที่ตายตัว แต่อาจมีบ้างที่มีโน้ตที่แปลกที่อยู่นอกคีย์แต่มีน้อยมากๆและส่วนมากเป็นเสียงประดับไม่ใช่เสียงหลัก

ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นนะครับ อย่างโน้ตเพลง ?คือหัตถาครองพิภพ? ที่ผมเคยลงให้





www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...catid=13&id=1076

โน้ตเพลงที่ผมได้ลงไว้ให้มี2คีย์ คือคีย์Cและคีย์G คือโน้ตทั้ง2ชุดนี้เล่นออกมาเป็นเพลง?คือหัตถาครองพิภพ?ได้เหมือนกัน แต่ระดับเสียงจะต่างกันตามคีย์ คีย์เพลงก็คือระดับเสียงเหมือนกับเสียงเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือ เสียงผู้หญิง-ผู้ชายที่มีระดับเสียงแตกต่างกันไปแต่ร้องเพลง?คือหัตถาครองพิภพ?ได้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าคีย์ที่แตกต่างกันพอมาร้องร่วมกันก็จะไม่เข้ากันหรือไม่ไพเราะหูเท่านั้นเองเหมือนเราจับเด็กกับผู้ใหญ่มาร้องเพลงเดียวกัน

ตอนนี้ขอให้สังเกตุที่โน้ตที่อยู่ในแต่ละคีย์ให้ดีนะครับจะเห็นว่า
-คีย์C ตามหลักในคีย์นี้ประกอบด้วยกลุ่มโน้ต " โด เร มี ฟา ซอล ลา ที " ซึ่งจะเห็นว่าโน้ตที่ปรากฏในเพลงจะอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด เพียงแต่ไม่มีโน้ตตัวฟาอยู่ในเพลงเท่านั้น (โน้ตตัวที่4ผู้แต่งไม่ได้นำมาใช้และไม่จำเป็นที่ต้องนำโน้ตในกลุ่มมาใช้ทุกโน้ต)
-คีย์G ตามหลักโน้ตในคีย์นี้ประกอบด้วย " ซอล ลา ที โด เร มี ฟา# " จะเห็นว่าโน้ตที่ปรากฏในเพลงอยู่ในกลุ่มทั้งหมด และนอกจากนี้สังเกตุได้ว่าโน้ตตัวฟ# (ฟาชาร์ป)ไม่สามารถแทนด้วยโน้ตตัวฟาได้ ถ้าเราลองเล่นเสียงฟาแทนฟ#โดยลองเป่าเป็นเพลงจะฟังออกว่าเพี้ยนทันที และในโน้ตเพลงคีย์นี้ก็ไม่มีโน้ตตัวโดซึ่งเป็นโน้ตลำดับที่4เช่นกัน

หมายเหตุ
1.การเขียนไล่โน้ตในคีย์ใดๆกำหนดให้โน้ตตัวแรกขึ้นต้นเป็นโน้ตตรงตามคีย์นั้น
ระบบการเขียนโน้ตที่ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเทียบกับภาษาไทยเป็นอย่างนี้ครับ
C : โด
D : เร
E : มี
F : ฟา
G : ซอล
A : ลา
B : ที
เช่นคีย์G ประกอบด้วยโน้ต " ซอล ลา ที โด เร มี ฟา# " แนะนำให้ดูที่ตารางคีย์และตัวโน้ตในคีย์เป็นหลักอ้างอิง

2.คำว่าคีย์ที่จะกล่าวต่อไปในบทความนี้ จะมีอยู่3ประเภทคือ
2.1 คีย์เพลง คือคีย์ที่เพลงนั้นบรรเลงหรือนักร้องร้องออกมา ตัวอย่างเช่นเสียงเพลง?คือหัตถาครองพิภพ?ที่คุณศรัณย่าร้องในวิดิทัศน์ (Youtube)
2.2 คีย์โน้ตเพลง คือคีย์ที่ปรากฏในโน้ตเนื้อเพลงที่แกะ ตัวอย่างเช่นโน้ตเพลง?คือหัตถาครองพิภพ?ที่แสดงให้ดู
2.3 คีย์ขลุ่ย คือขลุ่ยสากลที่นำมาเล่นเป็นขลุ่ยคีย์อะไร เช่นขลุ่ยคีย์C , ขลุ่ยคีย์ Bb
ต่อไปจะกล่าวถึงคีย์เพลงที่จะแกะและคีย์โน้ตเพลงที่แกะนะครับ ส่วนที่เป่าออกมาจะได้คีย์ตามโน้ตเพลงหรือเสียงร้องในเพลงหรือไม่อย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับคีย์ของขลุ่ยที่เป่าด้วยแต่ผมจะขอเอ่ยทีหลังเพื่อไม่ไห้สับสนและขอให้ลืมคีย์ของขลุ่ยไปก่อนนะครับ

3.คำว่า1ขั้นครึ่งเสียง(Semitone) เป็นระยะห่างของเสียงโน้ตหรือคีย์ที่ห่างกันครึ่งเสียงสากล เราสามารถเขียนโน้ตหรือคีย์ทั้งหมดที่ห่างกันทีละ1ขั้นครึ่งเสียงสากลได้ดังนี้



เช่นโน้ตตัวลาต่ำ(A) ห่างจากโน้ตตัวโด(C) เป็นระยะเท่ากับ 3ขั้นครึ่งเสียง
แก้ไขล่าสุด: 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา โดย bamboo.
สมาชิกที่ถูกใจโพสต์นี้: tik

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา #1381

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
วิธีการหาคีย์เพลง
ดังที่กล่าวมาแล้ว..การที่เรารู้ว่าเพลงนั้นอยู่คีย์อะไร จะทำให้เราแกะโน้ตได้ง่ายเพราะเราจะรู้ว่าได้ทันทีเลยว่าประกอบด้วยโน้ตอะไรบ้าง วิธีการหาคีย์เพลงด้วยตนเองต้องอาศัยการเดาแต่เป็นการเดาอย่างมีหลักการนะครับ
โดยดูจากโน้ตจบเพลงลงเป็นโน้ตอะไร ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคีย์ตามโน้ตนั้นครับ
ลองดูตัวอย่างที่แกะให้นะครับ เพลงคือหัตถาครองพิภพ สังเกตว่าตอนจบเพลงที่คำว่า?กล? ในท่อนสุดท้ายในคีย์Cจะลงด้วยโน้ตตัวโดสูง และในคีย์Gลงท้ายด้วยโน้ตตัวซอลซึ่งตรงตามคีย์



ขั้นตอนทำดังนี้ครับ
1.เปิดโปรแกรมKeyboard Music ตั้งค่าเมนู Mode(4) เป็น C Major (ให้ใช้คีย์Cเป็นมาตรฐานตัวเทียบ)



และตั้งเสียงเครื่องดนตรีเป็นเปียโน เราสามารถตั้งเป็นเสียงเครื่องดนตรีอื่นๆก็ได้ แต่ที่แนะนำเป็นเสียงเปียโนเนื่องจากเสียงตัวโน้ตที่ออกมาจะชัดและฟังง่ายสบายหู
(ปกติพอเปิดโปรแกรมนี้ขึ้นมาจะตั้งเสียงดนตรีให้เป็นเสียงเปียโนเริ่มต้นให้อยู่แล้วครับ)




2.เปิดเพลงพอถึงจบเพลงตั้งใจฟังแล้วลองให้กดโน้ตของKeyboard Musicเทียบเอา โดยลงท้ายด้วยโน้ตอะไรก็จะเป็นคีย์นั้นครับ หรือดูตามตารางต่อไปนี้



ซึ่งการเดาแบบนี้จากประสบการณ์จะถูกประมาณ80%(ถ้าหูเราฟังโน้ตออก) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเร็ว

เทคนิคแนะนำ
1.จริงๆแล้วหลายๆครั้งในส่วนตัวผมเองที่แกะเพลงก็ยังไม่สามารถระบุว่าคีย์เพลงนั้นเป็นคีย์อะไร เนื่องจากผมไม่ใช่นักดนตรีมืออาชีพ บางทีเพลงที่แกะอาจจะไม่ได้อยู่ในเมเจอร์สเกลเช่นอาจจะเป็นไมเนอร์สเกล หรือคนแต่งอาจจะใส่โน้ตพิเศษที่นอกเหนือจากสเกลหลักเพื่อให้เกิดสีสันและความไพเราะ
สำหรับผมแนะนำให้เราคิดว่าเพลงนั้นอยู่ในเมเจอร์เสกลก่อนครับ เพราะผมมองว่าสเกลอื่นก็มีพื้นฐานมาจากเมเจอร์สเกล

2.ถ้าเราเดาคีย์ผิดหรือเดาไม่ได้ก็ไม่ต้องซีเรียสก็ให้ลองแกะโดยตั้งเป็นคีย์ซี (C Major)หรือคีย์ที่เราเดาไว้เลยครับ แล้วแกะไปจนจบเพลงเลย จะติดชาร์ปติดแฟล็ตกี่ตัวก็ช่าง แล้วค่อยมาเปรียบเทียบดูตารางอีกทีว่าเป็นคีย์อะไร(จะผิดจะถูกไม่เป็นไร) จากนั้นเราสามารถทำการแปลงโน้ตจากคีย์หนึ่งไปยังคีย์อื่นๆได้ทั้งหมด แปลงจากคีย์ที่ติดโน้ตติดแฟล็ตมากไปเป็นคีย์ที่ไม่มีโน้ตที่ติดชาร์ปติดแฟล็ตในภายหลังก็ได้ ซึ่งผมจะขอกล่าวในหัวข้อที่3.3 การปรับแต่งเพลง

3.เวลาแกะถ้าเจอโน้ตทีติดชาร์ปหรือติดแฟล็ต แนะนำให้แกะเป็นแนวทางเดียวกัน คือถ้าเลือกแบบติดแฟล็ตก็ให้แกะเป็นรูปแบบติดแฟล็ตตลอด เพราะมีโน้ตเสียงเดียวกันแต่สามารถเขียนต่างกันในรูปแบบที่ติดชาร์ปหรือแฟล็ตได้เช่น ลาชาร์ป(ล#) กับ ทีแฟล็ต(ทb) คือโน้ตตัวเดียวเสียงเดียวกันแต่เขียนคนละรูปแบบ ก็กำหนดให้เอารูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งตลอด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบคีย์เพลง

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา #1382

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
3.2 การแกะเพลง
เมื่อได้คีย์เพลงแล้วต่อไปก็เป็นการแกะโน้ตตามเนื้อเพลงโดยใช้โปรแกรม Keyboard Music

วิธีการแกะเพลงที่ผมทำอยู่คือ
1.เมื่อได้คีย์เพลงที่เดาจากหัวข้อ3.1แล้ว ให้ตั้งคีย์ในโปรแกรมKeyboard Music โดยไปที่เมนู Mode(4) แล้วเลือกคีย์ที่ได้จากการเดาลงไป โดยเลือกที่เป็นสเกลเมเจอร์คือเลือกคีย์ที่ต้องการและลงท้ายด้วยMajor ส่วนสเกลไมเนอร์(Minor)ไม่ค่อยได้เจอเท่าไรและไม่ได้กล่าวถึงจึงไม่ต้องสนใจ



ข้อแนะนำ
อีกอย่างหนึ่งคือที่สังเกตว่าคีย์Fและคีย์G ตัวโน้ตจะเหมือนกับคีย์Cมาก คือ
-คีย์Fจะมีโน้ตติดแฟล็ตอยู่ตัวเดียวคือโน้ตทีแฟล็ต(ทb)นอกนั้นก็เหมือนกับคีย์C
-คีย์Gจะมีโน้ตติดชาร์ปตัวเดียวคือโน้ตฟาชาร์ป(ฟ#)นอกนั้นก็เหมือนกับคีย์C
ตามประสบการณ์ของผมถ้าเดาได้ว่าเพลงนั้นอยู่ในคีย์Gหรือคีย์F แนะนำให้แกะต่อโดยเลือกใช้โน้ตคีย์C คือในโปรแกรม Keyboard Music ให้ตั้งMode เป็น C Major โน้ตเพลงที่แกะออกมาส่วนใหญ่จะเป็นโน้ตที่ขลุ่ยเป่าได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าขลุ่ยเป่าลำบากเราก็สามารถแปลงคีย์ได้ในภายหลังเช่นกันจึงไม่ต้องกังวล

2.จากนั้นทำการฟังเพลงและเทียบเสียงจากโปรแกรมKeyboard Music โดยที่ปุ่มกดจะเป็นโน้ตระบบตัวเลขคือ 1,2,3,4,5,6,7จะแทนเสียงโน้ตในคีย์นั้นๆ ซึ่งที่ผมแกะอยู่จะไม่ถนัดหรือชินกับโน้ตระบบตัวเลขแต่จะชินกับระบบโด,เร,มี.. มากกว่า ดังนั้นเวลาแกะผมจะกำหนดตายตัวตลอดเลยว่าให้ 1=โด , 2=เร , 3=มี , 4=ฟา , 5=ซอล , 6=ลา , 7=ที (ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักของคีย์แต่นำมาใช้ประโยชน์ได้จริงและดีกว่าโดยเฉพาะเป่าขลุ่ยซึ่งผมจะอธิบายในภายหลัง)
ดังนั้นเวลาผมมองและแกะโน้ตจะเป็นดังรูป



ในการแกะเพลง มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือถ้าเราเดาคีย์เพลงได้ถูก ปกติเวลาแกะโน้ตออกมาจะได้โน้ตที่ไม่ติดชาร์ปหรือแฟล็ตเลยและโน้ตเพลงที่ได้นั้นจะเทียบเท่าหรือเรียกว่าได้ว่าเป็นโน้ตเพลงคีย์C ในการเป่าขลุ่ยนั้นโน้ตเพลงที่มีติดชาร์ปติดแฟล็ตจะทำการเป่าขลุ่ยทำได้ไม่ค่อยคล่องเพราะเริ่มวางนิ้วลำบาก ปกติเวลาแกะผมจะไม่ค่อยซีเรียสเรื่องคีย์เท่าไร เราจะเดาคีย์นั้นถูกหรือไม่ก็ไม่เป็นไรครับเพราะสามารถมาเปลี่ยนคีย์โน้ตได้ในภายหลัง แต่ที่ผมสนใจเป็นหลักคือจำนวนโน้ตที่ติดชาร์ปหรือแฟล็ต เพราะขลุ่ยถ้าเล่นเพลงที่มีโน้ตติดชาร์ปติดแฟล็ตเกิน2ตัวขึ้นไปก็จะเล่นลำบาก

ในกรณีที่แกะเพลงแล้วได้โน้ตที่ติดชาร์ปติดแฟล็ตตั้งแต่2ตัวขึ้นไป แสดงว่าคีย์เดาไว้ไม่ใช่คีย์ที่ตรงกับเพลงนั้นแน่ ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ สำหรับผมก็มีแนวทาง2แนวทางคือ

แนวทางที่1.ถ้าโน้ตติดชาร์ปติดแฟล็ตมีจำนวนมาก ก็ให้เปลี่ยนคีย์ใหม่ โดยย้อนไปทำข้อ3.1ใหม่ซึ่งอาจจะเสียเวลานิดหนึ่ง เหมาะสำหรับถ้าเราแกะไปได้ไม่เยอะเท่าไรหรือเราเจอโน้ตที่ติดชาร์ปติดแฟล็ตตั้งแต่3ตัวขึ้นไป

แนวทางที่2. ให้แกะไปจนจบเพลงจะติดชาร์ปติดแฟล็ตกี่ตัวก็ช่าง แล้วใช้วิธีการแปลงคีย์เอาคือทำการเปลี่ยนคีย์ใหม่ที่ไม่มีโน้ตที่ติดชาร์ปติดแฟล็ต วิธีนี้ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรและไม่เสียเวลาเท่าไรซึ่งผมจะกล่าวในหัวข้อที่3.3ต่อไป

หมายเหตุ
การนับโน้ตที่ติดชาร์ปติดแฟล็ตในความหมายของผมไม่ได้นับที่ปริมาณนะครับ วิธีนับคือตัวที่ซ้ำกันถือว่าเป็น1ตัว เช่นในเพลงที่แกะออกมามีโน้ตที่เป็นฟาชาร์ป(ฟ#)1ตัวหรือจะ10ตัว ก็นับเป็น1ตัวคือฟา# หรือในเพลงที่แกะมีโน้ตฟาชาร์ป(ฟ#)กับโดชาร์ป(ด#)จะกี่ตัวก็แล้วแต่ ผมก็นับเป็น2ตัว ..นี่คือความหมายการนับโน้ตที่ติดชาร์ปติดแฟล็ตของผม

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา #1383

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
การแกะตามเพลงดูไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายทั้งนี้บอกได้ว่าต้องอาศัยการฝึกฝนและฟังบ่อยๆ การฝึกฟังเสียงสำหรับผู้ที่หัดแกะใหม่ๆ อาจจะแยกแยะหรือฟังเสียงไม่ออกโดยเฉพาะเสียงของนักร้องว่าเป็นโน้ตตัวใด ผมแนะนำให้ลองหัดแกะตามเสียงเครื่องดนตรีที่เป็นท่อน Intro หรือ Solo ก่อน เพราะฟังง่ายกว่าเสียงคนร้อง แล้วก็แนะนำให้ปรับความเร็วของเพลง(Tempo)ให้ช้าลง โดยเปิดเพลงที่ต้องการที่จะแกะในโปรแกรมเล่นเพลงWinamp (ถ้ามี) แล้วตั้งค่าTempoในPaceMaker(ที่เป็นโปรแกรมเสริมของWinAmp )ให้เพลงเล่นช้าลง ซึ่งวิธีการใช้งานผมได้กล่าวไปแล้วในตอนที่2. เครื่องมือในการแกะเพลง

ในส่วนของการแกะเนื้อเพลงในท่อนที่เป็นคนร้อง ความยากที่เจอมามีดังนี้

1.การเอื้อน
ซึ่งจะเจอบ่อยมาก ในเพลงไทยเดิมหรือเพลงลูกทุ่ง
การเอื้อนนั้นประกอบด้วยตัวโน้ต2-3ตัวติดกันต่อเนื่อง พยายามแกะเสียงหลักที่ชัดเจหรือที่เราฟังออก
ขอยกตัวอย่าง
เพลง?กล่อมแม่?ของปาน ธนพร ซึ่งมีการเอื้อนค่อนข้างมาก
(ถ้าลองแกะให้ตั้ง Mode เป็น A Major )



www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...catid=13&id=1097

สังเกตุโน้ตที่แกะไว้แล้วบางท่อนดังนี้



จะเห็นว่าคำที่เป็นเอื้อนจะขีดเส้นใต้ไว้นะครับ เวลาเป่าก็เป่าลมเดียวแต่นิ้วเล่นหลายตัวโน้ต เป็นลูกเล่นที่ไม่ยากสำหรับขลุ่ยแต่ฟังแล้วให้ความไพเราะมากขึ้นเลยทีเดียวครับ

เพลงพิษรักพิษณุโลก ของคุณสีหนุ่ม เชิญยิ้ม
เพลงนี้ร้องอยู่ในคีย์Ab (ถ้าจะลองแกะให้ตั้ง Mode เป็น Ab Major)



www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...;catid=13&id=294

เพลงนี้พิเศษตรงที่มีการเอื้อนยาวหลายตัวโน้ต



สังเกตุตรงโน้ตสร้อย ?ชะแง้เก้อ ชะเง้อคอย ชะม้อยมอง? จะเห็นว่าผู้ร้องเอื้อนยาว ประกอบด้วยโน้ตไล่เรียงกันหลายตัว

ทั้งนี้ต้องอาศัยการฟังเป็นหลักครับ ยิ่งฟังเพลงมากๆ แกะเพลงเยอะๆ ก็จะเริ่มแยกแยะโน้ตได้ดีขึ้นครับ นอกจากนี้การที่เราเล่นเครื่องดนตรีเป็น จะทำให้เรารู้เสียงที่มาว่าเขาเล่นเครื่องดนตรีนั้นด้วยเทคนิคอะไร ก็จะทำให้ฟังและแกะง่ายขึ้นครับ เอาอย่างง่ายๆขลุ่ยนี่แหละครับ อย่างเช่นแกะเพลงบรรเลงขลุ่ยของท่านอ.ธนิสร์เป่า ถ้าเราเป็นมือใหม่หัดเป่า เราจะแกะโน้ตหลักได้ แต่ที่เป็นลูกเล่นให้ไพเราะบางทีเราจะฟังไม่ออก (โน้ตที่พริ้วก็อาจจะประกอบด้วยการเล่นโน้ตหลายตัวในเวลารวดเร็ว) แต่ถ้าเราฝึกเป่าขลุ่ยและพัฒนาเล่นลูกเล่นต่างในเว็บนี้ที่สอนไว้จนคล่อง เราก็จะฟังและแยกแยะโน้ตในเพลงเป่าออกมาได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนเป็นหลักครับ ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนแล้วกันนะครับ

2.สำเนียงเสียงท้องถิ่น
เพลงที่คนร้องเป็นภาษาท้องถิ่นตลอดจนเสียงธรรมชาติเช่นเสียงนกร้อง ขลุ่ยก็สามารถเล่นออกมาเป็นโน้ตได้ครับ สำเนียงท้องถิ่นก็มีลักษณะเหมือนกับการเอื้อนเสียงนะครับ คือประกอบด้วยโน้ตติดกันเรียงกัน
ตัวอย่างเช่นเพลง?แสงจันทร์? ของมาลีฮวนน่า
เพลงนี้ร้องอยู่ในคีย์C (ถ้าจะลองแกะให้ตั้ง Mode เป็น C Major)



www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...;catid=13&id=413

อย่างเช่นเนื้อเพลงช่วง ?ป่านนี้นางนอนหลับแล้วหรือยัง? จะเห็นว่าคำว่า?แล้ว?เมื่อฟังจะออกเสียงเป็น?แล่ว?มากกว่า ถ้าแกะธรรมดาก็จะท่อน ?หลับแล้วหรือยัง?เป็น ?มี ซอล ซอล มี? ก็จะได้เสียงพื้นๆไม่ได้สำเนียงใต้ ถ้าเราฟังดีๆก็จะได้เป็น ?มี ซอล-ลา-ซอล-มี ซอล มี ? คือแทนคำว่า?แล้ว?ด้วยโน้ต ?ซอล-ลา-ซอล-มี? ซึ่งการเป่าโดยใช้ขลุ่ยต้องสับนิ้วให้เร็วกล่าวคือต้องมีความคล่องของนิ้วพอสมควร ถ้าเป็นมือใหม่หัดเป่าและหัดแกะด้วยอาจจะแยกไม่ออก ก็ให้ฟังเป็นเสียงที่ชัดเจนที่สุดที่ฟังได้ก่อนก็ได้ครับแล้วไปเพิ่มลูกเล่นทีหลังก็ได้

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา #1384

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
3.เปลี่ยนคีย์กลางเพลง
มีเพลงไทยสากลหรือเพลงสากลบางเพลงมีการเปลี่ยนคีย์ในเพลงซึ่งพบได้น้อยมาก แต่ก็รู้ไว้บ้างเพื่อไม่ให้หลงทางแกะเพลง

เพลงที่มีการเปลี่ยนคีย์เพลงที่พบส่วนมากจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. จะเปลี่ยนหลังจากเพลงนั้นร้องจบเนื้อร้องทั้งหมดแล้วอย่างน้อย1รอบก่อน พอขึ้นรอบใหม่(ซ้ำ) ซึ่งอาจจะซ้ำบางท่อนหรือทั้งหมดจึงเปลี่ยนเป็นคีย์ใหม่

2.คีย์ที่เปลี่ยนนั้นจะสูงกว่าคีย์เดิมอีก1ขั้นครึ่งเสียง เช่นเดิมเพลงที่ร้องเป็นคีย์C เวลาเปลี่ยนก็จะเป็นคีย์C#
ทั้งนี้การเปลี่ยนคีย์ต้องอาศัยการสังเกตและฟังครับ เพราะคีย์ที่ห่างกันแค่1ขั้นครึ่งเสียงตัวอย่างเช่นคีย์Cกับคีย์C# ถ้าเป็นคนมือใหม่หัดแกะอาจจะแยกไม่ค่อยออก แต่เวลาเอาขลุ่ยเป่าเทียบเสียงจะคล้ายแต่ไม่เหมือน แต่ถ้าใช้โปรแกรมKeyboard Musicเล่นเทียบดูก็จะเห็นความแตกต่างครับ แต่โชคดีที่เพลงที่มีการเปลี่ยนคีย์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด
จะเปลี่ยนหลังจากร้องไปจบครบ1รอบแล้ว พอขึ้นรอบที่2หรือร้องซ้ำจะค่อยเปลี่ยนคีย์

ตัวอย่างเช่นเพลง Qing Hua Ci ของ Jay Chou
เพลงนี้ร้องอยู่ในคีย์D (ถ้าจะลองแกะให้ตั้ง Mode เป็น D Major)



www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...catid=13&id=1246

เพลงนี้ตอนแรกมีการร้องอยู่ในคีย์Dจนจบ1รอบ จากนั้นพอขึ้นรอบใหม่จะทำการเปลี่ยนคีย์ให้สูงอีก1ขั้นครึ่งเสียงก็คือคีย์D# (Eb) โดยจะมีการเปลี่ยนประมาณวินาทีที่ 3:01 ในวิดีโอทัศน์(Youtube) สังเกตุเสียงจะวืดขึ้นสูงเล็กน้อย
วิธีการแกะเพลงที่มีการเปลี่ยนคีย์แบบนี้ ก็แกะตามเนื้อเพลงที่ร้องรอบแรกทั้งหมดรอบเดียวรอบแรกเท่านั้นก็พอ รอบที่มีการเปลี่ยนคีย์ไม่ต้องแกะ เพราะการที่ใช้ขลุ่ยคีย์เดิมเป่าโน้ตเพลงคีย์ใหม่ที่สูงขึ้นอีก1ครึ่งขั้นครึ่งเสียงทำได้ลำบากมากๆจนทำไม่ได้ครับ เช่นใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่าโน้ตเพลงที่เป็นคีย์C# ตามตารางโน้ตในแต่ละคีย์จะเห็นว่าคีย์ที่ห่างจากคีย์เดิม1ขั้นครึ่งเสียง โน้ตจะติดชาร์ปหรือแฟล็ตทุกตัว

ตารางโน้ตคีย์C#เทียบกับคีย์C



ในกรณีนี้จะเป่าขลุ่ยเดิมในคีย์ที่เสียงที่สูงกว่าคีย์เดิม1ขั้นครึ่งเสียงตามเพลง ทำได้ทางเดียวคือเปลี่ยนขลุ่ยคีย์ใหม่เลย
แต่ถ้าอยากเล่นลูกเล่นที่เปลี่ยนคีย์โดยใช้ขลุ่ยตัวเดิมก็สามารถทำได้โดยแนะนำทำการแปลงโน้ตเพลงเป็นคีย์ให้สูงขึ้นเท่ากับ2ขั้นครึ่งเสียงเพราะคีย์ที่ต่างกัน2ขั้นครึ่งเสียงจะติดโน้ตที่เป็นชาร์ปหรือแฟล็ตเพิ่มขึ้นจากคีย์เดิม2ตัวเท่านั้น ตัวอย่างเช่นดูที่คีย์Cเป็นหลัก ห่างจากคีย์Cสูงขึ้นเป็นระยะ2ขั้นครึ่งเสียงคือคีย์D จะสังเกตุได้ว่าคีย์Dมีโน้ตที่ติดชาร์ปเพิ่มมา2ตัวเมื่อเทียบกับคีย์C ซึ่งขลุ่ยปกติก็ยังพอเล่นได้
อีกอย่างหนึ่งขลุ่ยคีย์Cกับขลุ่ยคีย์Bbเป็นคีย์ที่มีขายในท้องตลาด ส่วนคีย์อื่นๆจะหายากมากหรือต้องสั่งทำพิเศษ ถ้าอยากจะเล่นลูกเล่นปลี่ยนคีย์โดยที่มีขลุ่ยทั้ง2คีย์นี้ เราก็ใช้ขลุ่ยคีย์Bbเป่าก่อน1รอบพอขึ้นรอบที่2ก็ใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่าโดยเป่าใช้โน้ตเพลงเดิมก็ได้ เพราะคีย์Cกับคีย์Bbห่างกัน2ขั้นครึ่งเสียงเช่นเดียวกัน
แล้วถ้าถามว่าเปลี่ยนคีย์จากคีย์Cไปเป็นคีย์Fได้ไหม เพราะคีย์Fมีโน้ตที่ติดชาร์ปหรือแฟล็ตเพิ่มขึ้นมาแค่ตัวเดียว คำตอบคือคีย์2คีย์มีระดับเสียงห่างค่อนข้างมากคือห่างกัน5ขั้นครึ่งเสียง ถ้าเราเล่น2คีย์ต่อกันคือเล่นคีย์Cก่อนแล้วต่อด้วยคีย์Fเสียงจะดูกระโดดสูงไม่เข้าหู

ถ้าเรามีขลุ่ยอยู่เลาเดียว ต้องการเล่นลูกเล่นเป่าเป็น2คีย์ก็สามารถทำได้ โดยทำโน้ตเพลงออกเป็น2ชุด ชุดแรกคือโน้ตเดิมและชุดที่2ทำการแปลงโน้ตเพลงที่มีอยู่เดิมเป็นคีย์ใหม่ให้สูงขึ้นอีก2ขั้นครึ่งเสียง เช่นถ้าเรารู้ว่าโน้ตเพลงนั้นเป็นโน้ตเพลงคีย์C ก็แปลงให้เป็นคีย์Dได้ดังนี้ (ตามตารางโน้ตและคีย์ข้างบน)
คีย์C->คีย์D
ด -> ร
ร -> ม
ม -> ฟ#
ฟ -> ซ
ซ -> ล
ล -> ท
ท -> ด#

มีตัวอย่างเพลงพระราชนิพนธ์?ใกล้รุ่ง? ที่อ.ธนิสร์บรรเลง มีการเปลี่ยนคีย์ในเพลง



โน้ตเพลงดูได้ในกระทู้นี้ครับ
www.noomlamoon.com/index.php?option=com_...;catid=13&id=223

ในเพลงนี้พอซ้ำรอบที่2 เพลงจะมีการเปลี่ยนคีย์ให้สูงขึ้นอีก2ขั้นครึ่งเสียงที่ประมาณนาทีที่3:57 เราแกะโน้ตเพียงแค่
รอบเดียวแล้วสามารถทำได้2แบบคือ

แบบที่1. ถ้าเรามีขลุ่ยคีย์Bbและขลุ่ยคีย์C ก็ให้ทำการเป่าด้วยขลุ่ยคีย์Bbก่อน แล้วพอเปลี่ยนคีย์ก็เปลี่ยนเป็นขลุ่ยคีย์Cครับโดยเป่าโน้ตเพลงเดิมนั่นแหละ เป็นวิธีที่ง่ายสุดแต่ก็ต้องมีขลุ่ย2เลา ซึ่งขลุ่ยคีย์Bbและคีย์Cก็หาซื้อไม่ยากในท้องตลาด ผมคาดว่าอ.ธนิสร์เป่าโดยใช้วิธีนี้

แบบที่2. ทำการแปลงโน้ตเพลงที่มีอยู่ ให้สูงอีก2ขั้นครึ่งเสียง จะได้โน้ตเพลง2ฉบับแต่อยู่คนละคีย์ ทีนี้ก็ใช้ขลุ่ยอะไรก็ได้เป่านะครับ ตอนแรกก็เป่าโน้ตเพลงต้นฉบับจากนั้นก็เป่าอีกฉบับหนึ่งที่เราทำการแปลงคีย์เพลงให้สูงขึ้นแล้ว วิธีนี้มีข้อดีคือใช้ขลุ่ยแค่เลาเดียวและเป็นขลุ่ยคีย์อะไรก็ได้ แต่ข้อเสียคือโน้ตเพลงในคีย์ที่ถูกแปลงให้สูงขึ้นอีก2ขั้นครึ่งเสียงจะมีโน้ตติดชาร์ปหรือแฟล็ตเพิ่มมาอีก2ตัวจากโน้ตเพลงคีย์เดิม ทำให้วางนิ้วเป่าได้ลำบากยากขึ้นครับ โดยการแปลงก็ทำได้โดยใช้ลักษณะเดียวกับการแปลงโน้ตคีย์Cไปเป็นโน้ตคีย์Dที่กล่าวมาข้างบนครับ

Re: การแกะเพลงเบื้องต้น ตอนที่3 วิธีการแกะเพลง 12 ปี, 11 เดือน ที่ผ่านมา #1385

  • bamboo
  • ออฟไลน์
  • Expert Boarder
  • จำนวนโพสต์: 155
  • พลังน้ำใจ: 33
4.เช็คคีย์เสียงที่ขลุ่ยเป่าเป็นเพลงออกมา (เวลาจะเป่ากับเครื่องดนตรีอื่น)
ตอนนี้ขอพูดถึงคีย์ของขลุ่ยนะครับ ขลุ่ยเมื่อเราเป่าคนเดียวก็แทบไม่ต้องสนใจเรื่องคีย์ของเสียงเลย เพียงแค่สนใจเรื่องให้โน้ตอยู่ในช่วงที่ขลุ่ยเป่าได้และตัวโน้ตไม่ติดชาร์ปหรือแฟล็ตมากเท่านั้นเอง อีกอย่างที่สำคัญก็แค่เป่าออกมาให้ฟังเป็นเพลงที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการนำขลุ่ยไปเป่าตามเพลงที่นักร้องร้องหรือกับBacking Trackหรือร่วมวงกับเครื่องดนตรีอื่นๆ สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าเสียงที่ออกจากขลุ่ยอยู่ในคีย์ที่ตรงกับเสียงของเครื่องดนตรีอื่นไหม ถ้าไม่ตรงต้องปรับอย่างไร
สมมุติเรามีขลุ่ยคีย์หนึ่งเช่นขลุ่ยคีย์C และมีโน้ตเพลงมาให้เพลงหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าเราใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่า เสียงเพลงหรือคีย์เพลงที่ออกมาจะเป็นคีย์Cเสมอไป โดยทั้งนี้คีย์เสียงเพลงที่ขลุ่ยบรรเลงออกมาขึ้นอยู่กับ
1.ขลุ่ยนั้นเป็นขลุ่ยคีย์อะไร
2.โน้ตเพลงนั้นอยู่ในคีย์อะไร

มีกฎ3ข้อที่ผมสรุปเป็นแนวทางให้ในการหาคีย์เพลงที่ขลุ่ยเป่าออกมา
โดยทั้งนี้กำหนดให้วิธีการเป่าขลุ่ยคีย์ใดๆก็ให้ไล่โน้ตเหมือนกับเป่าขลุ่ยคีย์C คือถ้าเปิดทุกรูก็ให้เป็นโน้ตตัวโด เปิด1รูล่างเป็นตัวเร เป็นต้น วิธีนี้จะง่ายในการจดจำโน้ตคือเราจำโน้ตเพลงรูปแบบเดียว เราก็ไปเป่ากับขลุ่ยได้ทุกคีย์ เพียงแต่เสียงออกมาก็จะเปลี่ยนไปตามคีย์ของขลุ่ยเท่านั้นเอง (แต่รับรองเป็นเพลงเหมือนกัน) ตามกฎดังนี้
กฏข้อ1.
โน้ตเพลงที่เป็นคีย์C เมื่อใช้ขลุ่ยคีย์อะไรเป่าก็จะเสียงที่เป่าออกมาเป็นคีย์ตามคีย์ของขลุ่ยนั้น

เช่นโน้ตเพลงเสียงขลุ่ยเรียกนาง



จากโน้ตเพลงข้างต้นเป็นโน้ตเพลงคีย์C เพราะจบเพลงด้วยเสียงโด จากกฎข้อนี้ถ้าใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่าเสียงที่ออกมาก็เป็นคีย์C แต่ถ้าใช้ขลุ่ยคีย์Bbเป่า เสียงเพลงที่ออกมาก็อยู่ในคีย์Bb
ขอยกตัวอย่างเพลง ?เสียงขลุ่ยเรียกนาง? 2เวอร์ชั่นนะครับ
-เวอร์ชั่นขอ?คุณ หนู มิเตอร์
ถ้าลองหาคีย์เพลงที่ร้องนี้ โดยใช้การเดาโน้ตตัวสุดท้ายโดยใช้โปรแกรม Keyboard Musicตามหัวข้อ3.1 จะพบว่าโน้ตตัวสุดท้ายของเนื้อเพลงเป็นตัวโน้ตทีแฟล็ต(ทb,Bb,b7) ดังนั้นเดาได้ว่าคีย์ของเพลงนี้เป็นคีย์Bb
ถ้าเราจะเป่าขลุ่ยให้ได้เสียงตรงกับเพลงที่คุณหนูมิเตอร์ร้องก็ต้องใช้ขลุ่ยคีย์Bb เป่าโน้ตเพลงคีย์Cด้านบนครับ



-เวอร์ชั่นอัลบั้มมนต์แจ๊สลูกทุ่งโดยMark Hodgkins & Friends
ลองหาคีย์เพลงที่ขลุ่ยบรรเลงนี้ โดยใช้การเดาโน้ตตัวสุดท้ายโดยใช้โปรแกรม Keyboard Musicตามหัวข้อ3.1 จะพบว่าโน้ตตัวสุดท้ายของเนื้อเพลงเป็นตัวโน้ตลา(ล,A,6) ดังนั้นเดาได้ว่าคีย์ของเพลงนี้เป็นคีย์A
ดังนั้นเราจะเป่าขลุ่ยให้ได้เสียงตรงกับเพลงเวอร์ชั่นนี้ก็ต้องใช้ขลุ่ยคีย์A เป่าโน้ตเพลงคีย์Cที่แสดงไว้ด้านบน



ตัวอย่างเพลงนี้ถ้าเราไม่มีขลุ่ยคีย์Aแต่มีขลุ่ยคีย์Bb และมีไฟล์เพลงนี้อยู่ ก็สามารถใช้โปรแกรมWinAmpและPaceMakerทำการปรับคีย์ของเพลงที่บรรเลงจากคีย์Aเป็นคีย์Bbเพื่อให้ใช้ขลุ่ยคีย์Bbเป่าตามได้โดยที่เรารู้ว่าคีย์Bbสูงกว่าคีย์Aเป็นระยะ1ขั้นครึ่งเสียง จึงปรับโปรแกรมPaceMakerดังนี้ครับ




กฎข้อ2.
ขลุ่ยคีย์C เป่าโน้ตเพลงเป็นคีย์อะไรก็แล้วแต่ เสียงที่ออกมาจะได้ตามคีย์ของโน้ตเพลงนั้น

เช่นนำขลุ่ยคีย์C มาเป่าโน้ตเพลงข้างต้นที่เป็นคีย์Cเสียงที่ออกมาก็จะเป็นคีย์C ถ้านำไปเป่าโน้ตเพลงที่เป็นคีย์Fเสียงที่ออกมาก็จะเป็นคีย์Fตามเสียงสากลครับ
ตัวอย่างโน้ตเพลง?สายโลหิต? ซึ่งได้แกะไว้2คีย์คือคีย์Fและคีย์G

ส่วนเพลงในวีดิทัศน์(Youtube)

ลองหาคีย์ของเพลงตามหัวข้อ3.1 พบว่าคีย์เพลงที่คุณชมพู ฟรุ๊ตตี้ร้องเป็นคีย์G ดังนั้นถ้าใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่าตามโน้ตเพลงที่ระบุว่าเป็นคีย์Gจะได้เสียงตรงตามเพลง
จึงกล่าวได้ว่าขลุ่ยคีย์Cเป็นขลุ่ยคีย์มาตรฐานที่ควรจะมีไว้สำหรับท่านที่เป่าขลุ่ยเพลงสากล

กฎข้อ3.
เมื่อใช้ขลุ่ยคีย์หนึ่งเป่าโน้ตเพลงคีย์หนึ่ง เมื่อเปลี่ยนเป็นขลุ่ยคีย์ใหม่ เสียงที่ออกมาจะได้คีย์ที่เปลี่ยนไปเท่ากับระยะห่างของคีย์ขลุ่ยทั้ง2นั้น

ขออธิบายดังตัวอย่างต่อไปนี้ครับ
ขอให้ยึดตารางโครเมติดสเกลต่อไปนี้เป็นหลัก



ตารางโครเมติกเสกลเป็นการแสดงโน้ตที่ห่างกันทีละครึ่งเสียงในระบบโน้ตสากล ซึ่งคีย์สากลก็เหมือนกัน

ตัวอย่างที่1. เพลง?สายโลหิต?
จากตัวอย่างโน้ตเพลงที่เป็นคีย์F เรารู้ว่าใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่าเสียงที่ออกจะมาเป็นคีย์Fด้วยตามกฎข้อ2. ที่นี้ถ้าเปลี่ยนเป็นใช้ขลุ่ยคีย์Bbเป่าโน้ตเพลงเดิมที่เป็นคีย์Fจะได้เพลงออกมาเป็นคีย์อะไร อย่างแรกให้ทำการเปรียบเทียบก่อนว่าขลุ่ยคีย์Bbกับขลุ่ยคีย์C มีระยะห่างกันเท่ากับกี่ขั้นครึ่งเสียง(Semitone) วิธีดูง่ายๆให้ดูที่ตารางสเกลโครเมติก จะเห็นว่าคีย์Bb ห่างจากคีย์C ไปทางซ้ายเท่ากับ2ขั้นครึ่งเสียง(ไปทางซ้ายหมายความว่าเสียงคีย์นั้นต่ำกว่าคีย์เดิม) ดังนั้นคีย์เสียงเพลงที่ถูกเป่าออกมาจะถูกเลื่อนไปเท่ากับ2ขั้นครึ่งเสียงไปทางซ้ายจากคีย์เพลงเดิมเช่นเดียวกัน เนื่องจากคีย์เสียงเพลงเดิมที่ใช้ขลุ่ยคีย์Cเป่าออกมาเป็นคีย์F ดังนั้นให้นับจากคีย์Fไปทางซ้ายอีก2ขั้นครึ่งเสียงก็จะได้คีย์Ebครับ
โน้ตเพลงคีย์F
เดิมใช้ขลุ่ยคีย์C -> ใหม่ใช้ขลุ่ยคีย์Bb (ห่างไปทางซ้าย3ขั้นครึ่งเสียง)
เดิมเสียงเพลงที่เป่าออกมาเป็นคีย์F -> ใหม่เสียงเพลงคีย์Eb (นับห่างไปทางซ้าย3ขั้นครึ่งเสียงเช่นกัน)



ตัวอย่างที่2. สมมุติมีขลุ่ยคีย์Aเมื่อเป่าตามโน้ตเพลงเดิมที่เป็นคีย์C เสียงเพลงที่ออกมาจะเป็นคีย์A ตามกฎข้อ1. ทีนี้เมื่อเป่าตามโน้ตเพลงที่เป็นคีย์Fแล้ว เสียงเพลงที่ออกมานั้นจะเป็นคีย์อะไรนั้น ก็ให้ดูว่าโน้ตเพลงคีย์Cกับคีย์Fต่างกันกี่ขั้นครึ่งเสียง จากตารางโครเมติกสเกลคีย์Fห่างจากคีย์Cไปทางขวาเท่ากับ5ขั้นครึ่งเสียงหรือห่างจากคีย์Cไปทางซ้ายเท่ากับ7ขั้นครึ่งเสียง ดังนั้นเมื่อใช้ขลุ่ยคีย์Aเป่าโน้ตเพลงคีย์Fก็ต้องนับคีย์ของเพลงจากเดิมที่เป็นคีย์Aไปทางขวาเช่นดียวกันอีก5ขั้นครึ่งสียงหรือจะนับไปทางซ้าย7ขั้นครึ่งเสียงก็จะได้คีย์D เหมือนกัน
ขลุ่ยคีย์A
เดิมโน้ตเพลงคีย์C -> ใหม่โน้ตเพลงคีย์F (ห่างไปทางขวา5ขั้นครึ่งเสียง)
เดิมเสียงเพลงที่เป่าออกมาเป็นคีย์A -> ใหม่เสียงเพลงคีย์D (นับห่างไปทางขวา5ขั้นครึ่งเสียงเช่นกัน)



ข้อสังเกต
-ดังนั้นเรามีขลุ่ยคีย์Cอยู่ ไม่ได้หมายความว่ามีโน้ตอะไรมาให้ก็แล้วแต่เป่าออกมาออกเป็นคีย์Cหมดนะครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโน้ตเพลงนั้นเป็นคีย์อะไรด้วย

-การที่จะรู้ว่าเพลงที่เป่าออกมานั้นเป็นคีย์อะไร สรุปได้ว่าเราต้องรู้ว่าโน้ตเพลงนั้นเป็นคีย์อะไรและขลุ่ยที่เป่าอยู่เป็นขลุ่ยคีย์อะไร ปกติคีย์ของโน้ตเพลงก็สามารถหาได้จากหัวข้อ3.2 แต่บางครั้งถ้าไม่แน่ใจก็อาจจะถามผู้รู้ แต่ทั้งนี้ถ้าเราเป่าคนเดียวไม่ได้เป่ากับBacking Trackหรือวงดนตรีก็ไม่ต้องสนใจเรื่องคีย์ครับ

-ขลุ่ยคีย์Cเป่าโน้ตเพลงคีย์F จะได้เสียงตรงกับขลุ่ยคีย์Bbเป่าโน้ตเพลงเดิมที่เป็นคีย์G ลองไล่เองดูนะครับ
  • หน้าที่:
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
ผู้ดูแลฟอรัม: tik, sopon
ใช้เวลาในการร่างหน้านี้: 0.39 วินาที